|
เรือยางล่องแก่ง แบบแพ |
โปรโมชั่น เรือยางล่องแก่ง แบบแพ |
|
|
|
เรือยางล่องแก่ง แบบแพ วัสดุทำจากผ้ายางพีวีซี
ขนาดเรือ ความยาว 4.2 เมตร ความกว้าง 2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางทุ่น 0.5 เมตร
พร้อมอุปกรณ ดังนี้์
1. เรือยางล่องแก่ง 1 ลำ
2. ใบพาย 8 ด้าม
3. เสื้อชูชีพ 8 ตัว
4. หมวกล่องแก่ง 8 ใบ
5. กระเป๋ากันน้ำ Feelfree ขนาด 3 หรือ 5 ลิตร 1 ใบ
6. สูบลมแบบเท้าเหยียบ 1 ชุด
7. ชุดซ่อมแซมเบื้องต้น 1 ชุด |
เรือยางล่องแก่ง Grand Adventure 420
หมอนนั่ง 3 แถว ราคา 65,000 บาท |
|
จัดส่งทั่วประเทศ
|
|
|
|
Drifting Boat หรือ Raftting Boat |
|
|
|
|
|
|
ขนาดอื่นๆ เรือล่องเก่งแบบแพ |
รุ่น |
|
ความกว้าง
(ซม)
|
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ห้องลอย (ซม) |
น้ำหนัก
เรือยาง (กก) |
จำนวน
ผู้โดยสาร
(คน)
|
รับน้ำหนัก
(กก)
|
จำนวน
ห้องลอย |
ขนาดบรรจุ
(ซม)
|
ราคา |
260 DR |
260 |
128 |
33 |
35 |
2+1 |
230 |
2+3 |
113x62x33 |
33,900 |
280 DR |
280 |
128 |
33 |
38 |
3+1 |
340 |
2+3 |
113x62x33 |
35,900 |
300 DR |
300 |
128 |
33 |
42 |
4+1 |
450 |
2+3 |
113x62x33 |
38,900 |
330 DR |
330 |
182 |
45 |
45 |
5+1 |
550 |
4+3 |
113x62x33 |
42,900 |
360 DR |
360 |
188 |
45 |
45 |
6+1 |
660 |
4+3 |
113x62x35 |
52,900 |
380 DR |
380 |
188 |
45 |
51 |
7+1 |
750 |
4+3 |
113x62x35 |
57,900 |
400 DR |
400 |
200 |
50 |
56 |
8+1 |
850 |
4+4 |
123x65x35 |
62,900 |
430 DR |
430 |
200 |
50 |
58 |
10+1 |
1,080 |
4+4 |
123x65x35 |
72,900 |
|
วัสดุที่ใช้ทำเรือยาง
หรือ แพยางล่องแก่ง: |
ผลิตจากผ้ายางสังเคราะห์
โดยเนื้อยางที่ใช้ในการผลิตแต่ละส่วนจะต้องมีคุณสมบัติของ Fabric เช่น
มีความหนา 0.9 มม. หรือไม่ต่ำกว่า 1100 Decitox และสามารถเลือก แบบมีความหนา 1.2 มม. แล้วแต่ต้องการ รวมทั้ง พื้นชั้นบน ,พื้นชั้นล่าง และ ชั้นในแผ่นพื้น
ท่อยางเป็นลูกบวบรอบแพ แบ่งกั้นห้องลมเป็นส่วนๆ
และติดวาวล์สูบลมหลายจุด
เป็นอิสระต่อกัน เพื่อลดอันตรายจากอุบัติเหตุ เมื่อส่วนใดชำรุดจะไม่ทำให้เรือจมมีการทรงตัวดี
รอบของทุ่นยางติดมือจับ
เพื่อสะดวกต่อการเลื่อนย้ายด้านบนของทุ่นมีผ้ารองนั่งติดทั้งสองด้าน
ด้านในของทุ่นติดเชือกช่วยชีวิตโดยรอบลำ |
อุปกรณ์มาตรฐาน: |
กระเป๋าผ้าบรรจุเรือ
ปั้มสูบลมด้วยเท้า
ชุดซ่อมฉุกเฉิน (กาว+ผ้ายาง)
คู่มือการใช้งาน |
|
สามารถเลือกสีของเรือยางได้ตามที่ต้องการ เช่น เหลือง น้ำเงิน ฟ้า แดง ส้ม |
|
|
การพายเรือยางล่องแก่ง |
ระดับความยากง่ายของแก่ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ระดับดังนี้
ระดับ 1 : ง่ายมาก (Easy)
สายน้ำไหลเร็วม้วนตัวเป็นเกลียว และมีคลื่นเล็ก ๆ มีอุปสรรคกีดขวางเล็กน้อย แต่มองเห็นชัดเจน และหลบเลี่ยงได้ง่าย
ระดับ 2 : ธรรมดา (Novice)
มีแก่งที่ทอดตัวตรงไปข้างหน้า มีช่องให้เรือผ่านที่กว้างชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องไปสำรวจแก่งก่อน อาจจะมีอุปสรรคเช่น ก้อนหิน หรือคลื่นขนาดกลางที่จำเป็น ต้องหลบหลีกบ้างในบางครั้ง แต่ก็สามารถหลบผ่าน ไปได้ง่าย
ระดับ 3 : ปานกลาง (Intermediate)
เริ่มมีแก่งพร้อมคลื่นขนาดกลางที่หลบหลีกได้ยาก และสามารถท่วมซัดขึ้นบน เรือยางได้ การหลบหลีกอุปสรรคจึงมีความซับซ้อนในกระแสน้ำเชี่ยวรวมถึงการบังคับควบคุม เรือยางให้ ผ่านช่องทางอันเฉพาะเจาะจง คลื่นลูกใหญ่หรือไม้ล้มขวางลำน้ำอาจจะมีปรากฏให้เห็น แต่ก็พอหลบหลีกได้
ระดับ 4 : ยาก (Advanced)
แก่งรุนแรงทรงพลัง แต่ยังอยู่ในวิสัยที่พอคาดการณ์ได้ว่าจะเจออะไร ซึ่งการบังคับคุม เรือยาง ในกระแสน้ำที่พลุ่งพล่านนี้ ต้องเป็นไปอย่างกระชับเที่ยงตรงมากทีเดียว ความยากระดับนี้ ยังต้องดูลักษณะของแม่น้ำสายนั้น ๆ อีกหลายประการ เช่น จะต้องเผชิญคลื่นขนาดใหญ่ หรือโพรงน้ำม้วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรืออาจจะต้องบังคับเรือหลบหลีกอุปสรรคอย่าง รวดเร็ว เพื่อผ่านช่องที่เปิดให้เล็กน้อย แก่งเกรดสี่เริ่มมีระดับความเสี่ยงอันตรายที่เราต้องพยายามหาทางป้องกัน การสำรวจตรวจสอบก่อนที่ลงแก่งนั้นๆ เป็นครั้งแรก เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บจากการลอยตัวอยู่ในน้ำ มีระดับปานกลางถึงสูง และภาวะของสายน้ำอาจจะทำให้ยากต่อการช่วยตัวเอง
ระดับ 5 : ยากมาก (Expert)
ช่วงอุปสรรคที่จะต้องเผชิญมีระยะที่ยาวมากๆ หรือแก่งที่รุนแรงมากๆ ในระดับที่เข้าข่ายอันตราย เรืออาจทิ้งตัวลงกระแทกคลื่น หรือโพรงน้ำม้วนขนาดใหญ่ที่่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรืออาจกระโจนลงน้ำตกสูงชันตามช่องทางที่ไม่เปิดให้อย่างราบรื่นนัก แก่งอาจต่อเนื่องเป็นระยะทางที่ยาวนานมาก การลอยตัวอยู่ในน้ำเป็นเรื่องอันตราย และการให้ความช่วยเหลือก็ทำได้ค่อนข้างยาก แม้จะกระทำโดยผู้ชำนาญก็ตาม การล่องแก่งเกรดห้าต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างเหมาะสมครบถ้วน และทีมงานต้องมีประสบการณ์ขั้นสูง
ระดับ 6 : อันตราย (Extreme)
ระดับ 6 เป็นระดับที่ยาก และอันตรายเกินกว่าที่จะลง ล่องแก่งได้ อย่างไรก็ตามสำหรับทีม ผู้ชำนาญที่มีการสำรวจ และเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดี การล่องแก่งเกรด 6 ในช่วง โอกาสที่ระดับน้ำเหมาะสมก็อาจเป็นไ ปได้เช่นกัน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง อุปกรณ์ตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อใช้ ล่องแก่งประกอบด้วย
1. เรือยาง หรือ แพยาง
2. เสื้อชูชีพ
3. ไม้พาย
4. หมวกนิรภัย
เทคนิคการพายเรือ การบังคับแพ
1. หลักการพายเรือล่องแม่น้ำ
หลักการล่องแก่ง ต้องศึกษาสายน้ำก่อนพายเรือ การล่องแก่ง เปรียบเหมือนการขับรถ ที่จะต้องศึกษาเส้นทางก่อน หลักการพายเรือ อย่ามองเฉพาะที่หัวเรือ ให้มองสายน้ำที่ต้องการจะไป และมองสิ่งกีดขวางระหว่างทาง เช่น โขดหินที่มองเห็นได้ง่าย รวมทั้งหินใต้น้ำที่ทำให้เกิดกระแสน้ำเชี่ยวกรากต้องหยุดเรือเหนือแก่ง อ่านกระแสน้ำ โดยพิจารณาถึงลักษณะของหิน และทิศทางการไหลของน้ำ โดยยืนขึ้นมองหรือหยุดเรือเดินขึ้นฝั่งไปสำรวจว่า ควรจะนำเรือไปในแนวทางใด
2. การจับพายและวิธีการพายเรือ ลักษณะของไม้พายสำหรับการ ล่องแก่งโดยทั่วไปจะเป็นพายใบเดียว มีด้ามจับเป็นรูปตัวที มี 2 ขนาดคือ ขนาดสำหรับฝีพายด้านข้าง และขนาดสำหรับนายท้ายเรือ ลักษณะการจับพายให้เอานิ้วโป้งสอดเข้าไปใต้แง่งของตัวที สี่นิ้วที่เหลือกำด้านบนด้ามพาย มืออีกข้างหนึ่งให้จับกึ่งกลางระหว่างด้ามพาย
3. การนั่งเรือและการจัดตำแหน่งฝีพาย
ตำแหน่งหัวเรือให้ร่างกายทุกส่วนอยู่ภายในเรือ เท้าซ้ายและขวาให้สอดอยู่ใต้ท่อลมข้างเรือทั้งสองข้าง หันหน้าไปทิศทาง เดียวกับหัวเรือ
ตำแหน่งนายท้ายเรือให้นั่งบนท่อลมด้านหลัง เท้าซ้ายและขวาให้สอดอยู่ใต้ท่อลม ข้างลำเรือทั้งสองข้าง หันหน้าไปทางเดี่ยวกับหัวเรือ
ตำแหน่งฝีพายด้านซ้ายให้นั่งพับขาซ้าย บนท่อลมข้างซ้าย สอดเท้าซ้าย ให้อยู่ใต้ท่อลมเรือหรือลูกบวบลม
ตำแหน่งฝีพายด้านขวาให้นั่งพับขาขวา บนท่อลมข้างขวา สอดเท้าขวาให้อยู่ใต้ท่อลมเรือ หรือลูกบวบลม |
|
|